โนโรไวรัส norovirus

โนโรไวรัส Norovirus

โนโรไวรัส Norovirus เป็นไวรัสในตระกูล Caliciviridae

ซึ่งเป็น single-stranded positive-sense RNA virus ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 5 genogroups ตาม major capsid protein โดยที่ genogroup II (II) เป็นเชื้อกลุ่มหลักที่ทำให้เกิดปัญหาทั่วโลก) Norovirus สามารถติดต่อได้ทั้ง จาก person-to-person และ fecal-oral route จากการรับประทานอาหารและน้ำที่ ปนเปื้อนนอกจากนี้ยังอาจติดต่อจากการสัมผัสละอองอาเจียนของผู้ป่วยได้อีกด้วย อีกสาเหตุที่ทำให้ โนโรไวรัส Norovirus สามารถติดต่อและเกิดการระบาดได้ง่ายก็คือการที่มี infectious inoculum ต่ำ (อย่างน้อย 18 viral particles) สำหรับโรคอุจจาระร่วง ในผู้ที่เดินทางนั้น Norovirus พบว่าเป็นสาเหตุได้สูงถึง 12-15% จากการศึกษาในผู้ป่วย ที่มีอาการท้องเสียหลังกลับจากการท่องเที่ยว ไม่เพียงแต่การบริโภคอาหารที่ปนเปื้อน เท่านั้น Norovirus ยังติดโดยเดินทางโดยเครื่องบินหรือเรือสำราญได้อีกด้วยถึงแม้จะมีการทำความสะอาดอย่างดีก็ตาม เนื่องมาจาก Norovirus สามารถปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นาน โดยที่ความสามารถในการติดเชื้อไม่ได้ลดลงโดยจากการศึกษาพบว่า ไวรัสสามารถ อยู่บนพื้นผิวของวัตถุและในน้ำนานถึง 2 สัปดาห์และมากกว่า 2 เดือนตามลำดับ

เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มี cell culture system รวมถึงการทดลองในสัตว์ที่ดี เกี่ยวกับการติดเชื้อ โนโรไวรัส ดังนั้นจึงยังไม่ทราบกลไกการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่จาก การศึกษาทาง histopathology พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ blunt และ shortening ของ microvilli, crypt cells hyperplasia รวมถึง enterocytes apoptosis หลังจากเกิดการติดเชื้อ จากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ดังกล่าวทำให้การสร้าง enzyme บริเวณ brush boarder ลดลงและเกิดภาวะดูดซึมผิดปกติชั่วคราว (transient malabsorption) ของ D-xylose ไขมันและ lactose ทำให้เกิดมีภาวะอุจจาระร่วง ตามมา โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะกลับสู่สภาพปกติภายในเวลา 2 สัปดาห์ จากการศึกษาในปัจจุบันไม่พบว่ามีการสร้าง enterotoxin ในการติดเชื้อ Norovirus ดังนั้นกลไกที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการคลื่นไส้อาเจียนจึงยังไม่ทราบชัดเจน ผู้ป่วยที่ ติดเชื้อไวรัสจะมีอาการภายใน 1-2 วันหลังจากได้รับเชื้อโดยมีอาการเด่น คือ คลื่นไส้ อาเจียนร่วมกับท้องเสียแบบเป็นน้ำโดยที่ไม่มีเลือดปนร่วมกับมีปวดมวนท้องและไข้ต่ำๆ อาการทั้งหมดสามารถหายได้เองภายใน 48-72 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม Norovirus สามารถก่อให้เกิดโรคท้องเสียที่รุนแรงได้โดยมักพบในผู้ป่วยสูงอายุหรือมีภูมิคุ้มกันผิดปกติ

โนโรไวรัส norovirus

การรักษา โนโรไวรัส Norovirus รักษาแบบประคับประคอง รักษาตามอาการ เช่นยาแก้ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน พยายามอย่าให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ ให้น้ำเกลือ และป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ปกติจะอาการดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์

fever

AFI ไข้เฉียบพลัน สาเหตุที่พบบ่อย

AFI ไข้เฉียบพลัน หรือ Acute Febrile Illness คือไข้ที่เกิดโดยยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ เป็นไข้ฉับพลันในระยะ 7 วัน สาเหตุที่พบบ่อย

สาเหตุของไข้เฉียบพลัน ที่พบบ่อย คือการติดเชื้อต่างๆ แต่อย่าลืม ในบางโรคที่ไม่มีการติดเชื้อ เช่น การอักเสบ หรือโรคภูมิคุ้มกันต่างๆ หรือมะเร็งก็สามารถก่อให้เกิดไข้ได้

การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา วัณโรคหรือเชื้อริกเก็ตเซีย (Bacteria , virus , parasite, fungus mycobacteriam or rickettsia infection )

เช่น การติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ ปอด ผิวหนัง เยื่อหุ้มปอด พบได้ถึง 69% รองลงมาคือไข้รากสาดหรือ scub typhus

วัณโรคและหนองในช่องท้อง

การติดเชื้อมาเลเรีย , RSV,

ไวรัสอื่นๆ เช่น ไข้เลือดออก เดงกี่ ชิคุนกุนย่า

มะเร็ง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ (HCC) มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อน

โรคภูมิต้านตนเองต่างๆ เช่น

SLE (Systemic Lupus Erythematosus) โรคที่เราเรียกว่า โรคพุ่มพวง

Rheumatic fever

Giant Cell Arteritis , Polymyalgia rheumatica

Wegener’s granulomatosis

Rheumatoid arthritis

Polyarteritis nodosa

Inflammatory Bowel disease

ภาวะอื่นๆ เช่น

pulmonary emboli

drug fever ไข้จากยา

Factitious fever

Adrenal insufficiency

Thyrotoxicosis

Pancreatitis

fever

สาเหตุของไข้แบบฉับพลัน

สาเหตุของไข้แบบฉับพลันที่พบบ่อยในประเทศไทย

ไข้เป็นอาการสำคัญติด 1 ใน 20 ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในประเทศไทย โดยเฉพาะประเทศในแถบเขตร้อน จากการวิจัย ผู้ป่วยที่มีไข้แบบฉุกเฉิน จะพบว่า หาสาเหตุได้ร้อยละ 38.76 โดยเกิดจาก ไข้รากสาดใหญ่ (Scrub Typhus) ร้อยละ 7.5 ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ร้อยละ 6 ไข้เลือดออก ร้อยละ 5.7 Murine typhus ร้อยละ 5.3 การติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis) ร้อยละ 3.2

เชื้อที่พบบ่อยคือ Escherichia coli , Streptococci , Salmonella spp., Enterobactor spp. และ Staphyloccoccus aureus) Enteric fever ร้อยละ 1.9 และไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) ร้อยละ 1.1

DPPa_1000033

อาหารคีโต อันตรายต่อหลอดเลือดและหัวใจ

อาหารคีโต อันตรายต่อหลอดเลือดและหัวใจ ผลการวิจัยใหม่ ยืนยัน

ผลการวิจัยใหม่จากสหรัฐอเมริกายืนยันว่าการกินอาหารไขมันสูง LCHF ทำให้มีผลต่อระบบหลอดเลือด CNN newsการทานอาหารชนิดที่เรียกว่าคีโตไดเอดหมายถึงการกินอาหารที่มีไขมันเป็นสัดส่วนมากกว่าคาร์โบไฮเดรต
ซึ่งในการศึกษายืนยันแล้วว่าสามารถนำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของไขมันเลวหรือที่เรียกว่าLDL (low density lipoprotein) และทำให้เกิดปัญหาหลอดเลือดอุดตันในหัวใจ ศ. นพ. Lulia จาก Healthy Heart Program Prevention Clinic, St. Paul’s Hospital and University of British Columbia’s Centre for Heart Lung Innovation in Vancouver, Canada, กล่าว

จากการศึกษาวิจัยพบผลเสียที่เกิดจากการรับประทานอาหารแบบนี้มากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งเราพบว่าผู้ป่วยที่ทานอาหารแบบนี้มีไขมันชนิดแอลดีแอล(LDL)เป็นปริมาณสูงกว่าผู้ป่วยที่รับประทานอาหารปกติ

อาหารแบบ คีโต (keto diet) หรือ low carb high fat (LCHF) diet มีคำนิยามคือปริมาณพลังงานจากอาหารไขมันมากกว่าคาร์โบไฮเดรต ในอัตราส่วน 45%ต่อ 25%

คณะผู้วิจัยได้ศึกษาจากคนไข้ 305 รายที่รับประทานคีโตไดเอดเทียบกับ 1200 รายที่รับประทานอาหารปกติโดยใช้ข้อมูลจากประเทศอังกฤษ เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์จากการศึกษา 11 ปีพบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานความดันโรคอ้วนและหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนและทำให้คนไข้มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากหลอดเลือดอุดตัน สองถึงสามเท่าเมื่อเทียบกับคนปกติ