Customise Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorised as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyse the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customised advertisements based on the pages you visited previously and to analyse the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

Category: อาการ

  • AFI ไข้ fever พยาธิสภาพ

    AFI ไข้ fever พยาธิสภาพ

    AFI ไข้ fever พยาธิสภาพ ของการเกิดไข้

    ไข้ fever คือการที่อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่าปกติ ปกติ ร่างกายจะมีการควบคุมอุณหภูมิ โดยศูนย์กลางที่ สมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็น Thermoregulatory center at anterior hypothalamus (ศุนย์คุมอุณหภูมิที่สมองไฮโปทาลามัสส่วนหน้า) อุณหภูมิของร่างกายคือความสมดุลระหว่าง การสร้างความร้อน (จากการเผาผลาญ การออกกำลัง จากตับ ) และการระบายความร้อนของร่างกายทางผิวหนัง เหงื่อ

    คนปกติ จะควบคุมอุณหภูมิในระหว่าง 37 องศาเซลเซียส อาจมีสูงบ้างในช่วงเย็น และต่ำมากในช่วงดึก เรียกว่า Circadian temperature ประมาณ 0.6 องศา

    ไข้ส่วนใหญ่เกิดจากการสร้าง Endogenous Pyrogens เป็น Polypeptides โปรตีนที่ถูกสร้างเม็ดเลือดขาว เพื่อตอบสนอง ต่อการมีติดเชื้อ สารแปลกปลอม การอักเสบ หรือมะเร็ง หรือการแพ้บางชนิด Pyrogens นี้แหละจะผ่านไปยังไฮโปทาลามัส และทำให้เกิดการสร้าง Interleukin , prostagandins และ pyrogenic cytokines บางตัว ที่ทำให้ จุดสมดุลของความร้อนสูงขึ้น

    บางครั้ง Pyrogen ก็อาจเกิดจากสิ่งภายนอก (exogenous pyrogens) เช่น เอนโดท็อกซิน (endotoxin ) ที่แบคทีเรียสร้างขึ้นมา เช่นจากการทดลองใช้ Toxins จากเชื้อ Staph เป็นเอนโดท็อกซินที่ก่อให้เกิด Pyrogens ได้แม้ใช้ปริมาณน้อยมาก

  • โนโรไวรัส Norovirus

    โนโรไวรัส Norovirus

    โนโรไวรัส Norovirus เป็นไวรัสในตระกูล Caliciviridae

    ซึ่งเป็น single-stranded positive-sense RNA virus ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 5 genogroups ตาม major capsid protein โดยที่ genogroup II (II) เป็นเชื้อกลุ่มหลักที่ทำให้เกิดปัญหาทั่วโลก) Norovirus สามารถติดต่อได้ทั้ง จาก person-to-person และ fecal-oral route จากการรับประทานอาหารและน้ำที่ ปนเปื้อนนอกจากนี้ยังอาจติดต่อจากการสัมผัสละอองอาเจียนของผู้ป่วยได้อีกด้วย อีกสาเหตุที่ทำให้ โนโรไวรัส Norovirus สามารถติดต่อและเกิดการระบาดได้ง่ายก็คือการที่มี infectious inoculum ต่ำ (อย่างน้อย 18 viral particles) สำหรับโรคอุจจาระร่วง ในผู้ที่เดินทางนั้น Norovirus พบว่าเป็นสาเหตุได้สูงถึง 12-15% จากการศึกษาในผู้ป่วย ที่มีอาการท้องเสียหลังกลับจากการท่องเที่ยว ไม่เพียงแต่การบริโภคอาหารที่ปนเปื้อน เท่านั้น Norovirus ยังติดโดยเดินทางโดยเครื่องบินหรือเรือสำราญได้อีกด้วยถึงแม้จะมีการทำความสะอาดอย่างดีก็ตาม เนื่องมาจาก Norovirus สามารถปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นาน โดยที่ความสามารถในการติดเชื้อไม่ได้ลดลงโดยจากการศึกษาพบว่า ไวรัสสามารถ อยู่บนพื้นผิวของวัตถุและในน้ำนานถึง 2 สัปดาห์และมากกว่า 2 เดือนตามลำดับ

    เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มี cell culture system รวมถึงการทดลองในสัตว์ที่ดี เกี่ยวกับการติดเชื้อ โนโรไวรัส ดังนั้นจึงยังไม่ทราบกลไกการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่จาก การศึกษาทาง histopathology พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ blunt และ shortening ของ microvilli, crypt cells hyperplasia รวมถึง enterocytes apoptosis หลังจากเกิดการติดเชื้อ จากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ดังกล่าวทำให้การสร้าง enzyme บริเวณ brush boarder ลดลงและเกิดภาวะดูดซึมผิดปกติชั่วคราว (transient malabsorption) ของ D-xylose ไขมันและ lactose ทำให้เกิดมีภาวะอุจจาระร่วง ตามมา โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะกลับสู่สภาพปกติภายในเวลา 2 สัปดาห์ จากการศึกษาในปัจจุบันไม่พบว่ามีการสร้าง enterotoxin ในการติดเชื้อ Norovirus ดังนั้นกลไกที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการคลื่นไส้อาเจียนจึงยังไม่ทราบชัดเจน ผู้ป่วยที่ ติดเชื้อไวรัสจะมีอาการภายใน 1-2 วันหลังจากได้รับเชื้อโดยมีอาการเด่น คือ คลื่นไส้ อาเจียนร่วมกับท้องเสียแบบเป็นน้ำโดยที่ไม่มีเลือดปนร่วมกับมีปวดมวนท้องและไข้ต่ำๆ อาการทั้งหมดสามารถหายได้เองภายใน 48-72 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม Norovirus สามารถก่อให้เกิดโรคท้องเสียที่รุนแรงได้โดยมักพบในผู้ป่วยสูงอายุหรือมีภูมิคุ้มกันผิดปกติ

    โนโรไวรัส norovirus

    การรักษา โนโรไวรัส Norovirus รักษาแบบประคับประคอง รักษาตามอาการ เช่นยาแก้ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน พยายามอย่าให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ ให้น้ำเกลือ และป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ปกติจะอาการดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์

  • AFI ไข้เฉียบพลัน สาเหตุที่พบบ่อย

    AFI ไข้เฉียบพลัน สาเหตุที่พบบ่อย

    AFI ไข้เฉียบพลัน หรือ Acute Febrile Illness คือไข้ที่เกิดโดยยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ เป็นไข้ฉับพลันในระยะ 7 วัน สาเหตุที่พบบ่อย

    สาเหตุของไข้เฉียบพลัน ที่พบบ่อย คือการติดเชื้อต่างๆ แต่อย่าลืม ในบางโรคที่ไม่มีการติดเชื้อ เช่น การอักเสบ หรือโรคภูมิคุ้มกันต่างๆ หรือมะเร็งก็สามารถก่อให้เกิดไข้ได้

    การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา วัณโรคหรือเชื้อริกเก็ตเซีย (Bacteria , virus , parasite, fungus mycobacteriam or rickettsia infection )

    เช่น การติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ ปอด ผิวหนัง เยื่อหุ้มปอด พบได้ถึง 69% รองลงมาคือไข้รากสาดหรือ scub typhus

    วัณโรคและหนองในช่องท้อง

    การติดเชื้อมาเลเรีย , RSV,

    ไวรัสอื่นๆ เช่น ไข้เลือดออก เดงกี่ ชิคุนกุนย่า

    มะเร็ง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ (HCC) มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อน

    โรคภูมิต้านตนเองต่างๆ เช่น

    SLE (Systemic Lupus Erythematosus) โรคที่เราเรียกว่า โรคพุ่มพวง

    Rheumatic fever

    Giant Cell Arteritis , Polymyalgia rheumatica

    Wegener’s granulomatosis

    Rheumatoid arthritis

    Polyarteritis nodosa

    Inflammatory Bowel disease

    ภาวะอื่นๆ เช่น

    pulmonary emboli

    drug fever ไข้จากยา

    Factitious fever

    Adrenal insufficiency

    Thyrotoxicosis

    Pancreatitis

  • สาเหตุของไข้แบบฉับพลัน

    สาเหตุของไข้แบบฉับพลัน

    สาเหตุของไข้แบบฉับพลันที่พบบ่อยในประเทศไทย

    ไข้เป็นอาการสำคัญติด 1 ใน 20 ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในประเทศไทย โดยเฉพาะประเทศในแถบเขตร้อน จากการวิจัย ผู้ป่วยที่มีไข้แบบฉุกเฉิน จะพบว่า หาสาเหตุได้ร้อยละ 38.76 โดยเกิดจาก ไข้รากสาดใหญ่ (Scrub Typhus) ร้อยละ 7.5 ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ร้อยละ 6 ไข้เลือดออก ร้อยละ 5.7 Murine typhus ร้อยละ 5.3 การติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis) ร้อยละ 3.2

    เชื้อที่พบบ่อยคือ Escherichia coli , Streptococci , Salmonella spp., Enterobactor spp. และ Staphyloccoccus aureus) Enteric fever ร้อยละ 1.9 และไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) ร้อยละ 1.1