Category: โรค

  • โรคเบาหวานชนิดต่างๆ

    โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus = DM)ชนิดต่างๆมีการจำแนกเป็นชนิดที่พบบ่อยและชนิดที่พบไม่บ่อยดังนี้

    1. โรคเบาหวานชนิดที่พบบ่อย ได้แก่
      • 1.1 โรคเบาหวานแบบขาดอินสุลิน หรือ type 1 diabetes.(T1DM)
        • Cause:สาเหตุ เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายเซลของตับอ่อน Autoimmune destruction of pancreatic β-cells ซึ่งเป็นตัวสร้างอินสุลินในร่างกาย ก่อให้เกิดการขาดอินสุลิน insulin deficiency.
        • Pathophysiology:กลไกการเกิด Involves T-cell-mediated destruction, เกิดการทำลายเซลโดยแอนติบอดี้ islet cell autoantibodies (ICA), GAD65 autoantibodies, IA-2, and ZnT8 autoantibodies
        • Onset: ระยะเวลาเริ่มเกิดโรค มักเป็นในเด็กหรือวัยรุ่น แต่อาจเกิดในผู้ใหญ่ได้ ที่เรียกว่า(Latent Autoimmune Diabetes in Adults, LADA).
        • Subtype:
        • เบาหวานแบบขาดอินสุลินแต่ไม่พบแอนติบอดี้ เจอในเอเชีย แอฟริกา Idiopathic Type 1 Diabetes: No autoimmunity, more common in Asian and African populations.
      • 1.2 โรคเบาหวานแบบไม่ขาดอินสุลิน Non Insulin dependent diabetes (T2DM)
        • Cause:สาเหตุ เกิดจากการดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินสุลินในอวัยวะต่างๆ โดยที่ระดับอินสุลินไม่ได้ขาด Insulin resistance with relative insulin deficiency.
        • Pathophysiology: กลไกการเกิด มักสัมพันธ์กับบกรรมพันธ์ ที่มีบิดามารดาเป็น ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับภาวะความอ้วนลงพุง และ เมตาบอลิกซินโดรม Strong genetic predisposition, associated with obesity, metabolic syndrome, and β-cell dysfunction.
        • Onset: ระยะเวลาที่เริ่มเป็น จะเป็นในอายุ มากกว่า ชนิด 1 เป็นในผู้ใหญ่ แต่ก็อาจเจอในคนอายุน้อยที่อ้วนได้ More common in adults but increasing in younger populations due to obesity.
      • 1.3 เบาหวานในคนตั้งครรภ์ Gestational Diabetes (GDM)
        • Cause: สาเหตุ เกิดการดื้อต่ออินสุลินเนื่องมาจากอิทธิพลของฮอร์โมนต่างๆในระหว่างตั้งครรภ์ Glucose intolerance first recognized during pregnancy.
        • Pathophysiology:เกิดการดื้อต่ออินสุลินเนื่องมาจากอิทธิพลของฮอร์โมนต่างๆในระหว่างตั้งครรภ์ Increased insulin resistance due to placental hormones (hPL, estrogen, progesterone).
        • Risk Factors: ปัจจับเสี่ยง ความอ้วน กรรมพันธ์ เคยเป็นมาก่อน Obesity, family history, prior GDM.
        • Complications:ความเสี่ยงต่อมารดาและบุตร อาจทำให้ทารกมีตัวใหญ่กว่าปกติ ทำให้คลอดยาก หรือมีตัวเหลืองหลังคลอด หรือมีภาวะน้ำตาลต่ำหลังคลอด มารดาอาจมีปัญหาเบาหวานต่อเนื่องแม้หลังคลอดแล้ว Fetal macrosomia, neonatal hypoglycemia, maternal T2DM risk.
    2. โรคเบาหวานที่พบไม่บ่อย (rare type of diabetes mellitus)
      • 2.1 Monogenic Diabetes เบาหวานที่เกิดจากยีนที่มีการกลายพันธ์ ได้แก่
        • Maturity-Onset Diabetes of the Young (MODY) – Autosomal dominant, non-autoimmune.
          • MODY 1 (HNF4A mutation)
          • MODY 2 (GCK mutation – mild fasting hyperglycemia)
          • MODY 3 (HNF1A mutation – most common MODY)
          • MODY 4 (PDX1 mutation)
          • MODY 5 (HNF1B mutation – renal abnormalities)
        • Neonatal Diabetes Mellitus (NDM) – Diagnosed in the first 6 months of life.
          • Transient NDM (e.g., KCNJ11 mutation) – Resolves but may relapse.
          • Permanent NDM (e.g., INS, ABCC8 mutation) – Requires lifelong treatment.
      • 2.2 Secondary Diabetesเบาหวานที่เกิดจากผลกระทบที่ทำให้ลดการทำงาน islet cells ที่สร้าง อินสุลินในตับอ่อน หรือเมตาบอลิสมของน้ำตาลที่ผิดปกติไป เช่น
        • Pancreatic Diseases –เบาหวานที่เกิดจากกกาชชรทำงายเซลตับอ่อน หรือตับอ่อนอักเสบ มะเร็งตับอ่อน Chronic pancreatitis, cystic fibrosis, hemochromatosis, pancreatic carcinoma.
        • Endocrinopathies –ภาวะทางต่อมไร้ท่ออื่นๆ เช่น Cushing’s syndrome, acromegaly, pheochromocytoma, glucagonoma, somatostatinoma, hyperthyroidism.
        • Drug-Induced Diabetes –ยาหรือสารบางตัว เช่น สเตียรอยด์ Corticosteroids, thiazides, atypical antipsychotics, protease inhibitors.
      • 2.3 Autoimmune -associated DM ภาวะออโต้อิมมูน หรือภูมิคุ้มกันทำให้เกิดเบาหวาน
        • Latent Autoimmune Diabetes in Adults (LADA) – Slow-progressing T1DM in adults.
        • Type B Insulin Resistance Syndrome – Autoantibodies to insulin receptors, often seen with lupus (SLE)
  • โนโรไวรัส Norovirus

    โนโรไวรัส Norovirus

    โนโรไวรัส Norovirus เป็นไวรัสในตระกูล Caliciviridae

    ซึ่งเป็น single-stranded positive-sense RNA virus ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 5 genogroups ตาม major capsid protein โดยที่ genogroup II (II) เป็นเชื้อกลุ่มหลักที่ทำให้เกิดปัญหาทั่วโลก) Norovirus สามารถติดต่อได้ทั้ง จาก person-to-person และ fecal-oral route จากการรับประทานอาหารและน้ำที่ ปนเปื้อนนอกจากนี้ยังอาจติดต่อจากการสัมผัสละอองอาเจียนของผู้ป่วยได้อีกด้วย อีกสาเหตุที่ทำให้ โนโรไวรัส Norovirus สามารถติดต่อและเกิดการระบาดได้ง่ายก็คือการที่มี infectious inoculum ต่ำ (อย่างน้อย 18 viral particles) สำหรับโรคอุจจาระร่วง ในผู้ที่เดินทางนั้น Norovirus พบว่าเป็นสาเหตุได้สูงถึง 12-15% จากการศึกษาในผู้ป่วย ที่มีอาการท้องเสียหลังกลับจากการท่องเที่ยว ไม่เพียงแต่การบริโภคอาหารที่ปนเปื้อน เท่านั้น Norovirus ยังติดโดยเดินทางโดยเครื่องบินหรือเรือสำราญได้อีกด้วยถึงแม้จะมีการทำความสะอาดอย่างดีก็ตาม เนื่องมาจาก Norovirus สามารถปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นาน โดยที่ความสามารถในการติดเชื้อไม่ได้ลดลงโดยจากการศึกษาพบว่า ไวรัสสามารถ อยู่บนพื้นผิวของวัตถุและในน้ำนานถึง 2 สัปดาห์และมากกว่า 2 เดือนตามลำดับ

    เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มี cell culture system รวมถึงการทดลองในสัตว์ที่ดี เกี่ยวกับการติดเชื้อ โนโรไวรัส ดังนั้นจึงยังไม่ทราบกลไกการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่จาก การศึกษาทาง histopathology พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ blunt และ shortening ของ microvilli, crypt cells hyperplasia รวมถึง enterocytes apoptosis หลังจากเกิดการติดเชื้อ จากการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ดังกล่าวทำให้การสร้าง enzyme บริเวณ brush boarder ลดลงและเกิดภาวะดูดซึมผิดปกติชั่วคราว (transient malabsorption) ของ D-xylose ไขมันและ lactose ทำให้เกิดมีภาวะอุจจาระร่วง ตามมา โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะกลับสู่สภาพปกติภายในเวลา 2 สัปดาห์ จากการศึกษาในปัจจุบันไม่พบว่ามีการสร้าง enterotoxin ในการติดเชื้อ Norovirus ดังนั้นกลไกที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการคลื่นไส้อาเจียนจึงยังไม่ทราบชัดเจน ผู้ป่วยที่ ติดเชื้อไวรัสจะมีอาการภายใน 1-2 วันหลังจากได้รับเชื้อโดยมีอาการเด่น คือ คลื่นไส้ อาเจียนร่วมกับท้องเสียแบบเป็นน้ำโดยที่ไม่มีเลือดปนร่วมกับมีปวดมวนท้องและไข้ต่ำๆ อาการทั้งหมดสามารถหายได้เองภายใน 48-72 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม Norovirus สามารถก่อให้เกิดโรคท้องเสียที่รุนแรงได้โดยมักพบในผู้ป่วยสูงอายุหรือมีภูมิคุ้มกันผิดปกติ

    โนโรไวรัส norovirus

    การรักษา โนโรไวรัส Norovirus รักษาแบบประคับประคอง รักษาตามอาการ เช่นยาแก้ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน พยายามอย่าให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ ให้น้ำเกลือ และป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ปกติจะอาการดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์

  • AFI ไข้เฉียบพลัน สาเหตุที่พบบ่อย

    AFI ไข้เฉียบพลัน สาเหตุที่พบบ่อย

    AFI ไข้เฉียบพลัน หรือ Acute Febrile Illness คือไข้ที่เกิดโดยยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ เป็นไข้ฉับพลันในระยะ 7 วัน สาเหตุที่พบบ่อย

    สาเหตุของไข้เฉียบพลัน ที่พบบ่อย คือการติดเชื้อต่างๆ แต่อย่าลืม ในบางโรคที่ไม่มีการติดเชื้อ เช่น การอักเสบ หรือโรคภูมิคุ้มกันต่างๆ หรือมะเร็งก็สามารถก่อให้เกิดไข้ได้

    การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา วัณโรคหรือเชื้อริกเก็ตเซีย (Bacteria , virus , parasite, fungus mycobacteriam or rickettsia infection )

    เช่น การติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ ปอด ผิวหนัง เยื่อหุ้มปอด พบได้ถึง 69% รองลงมาคือไข้รากสาดหรือ scub typhus

    วัณโรคและหนองในช่องท้อง

    การติดเชื้อมาเลเรีย , RSV,

    ไวรัสอื่นๆ เช่น ไข้เลือดออก เดงกี่ ชิคุนกุนย่า

    มะเร็ง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ (HCC) มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อน

    โรคภูมิต้านตนเองต่างๆ เช่น

    SLE (Systemic Lupus Erythematosus) โรคที่เราเรียกว่า โรคพุ่มพวง

    Rheumatic fever

    Giant Cell Arteritis , Polymyalgia rheumatica

    Wegener’s granulomatosis

    Rheumatoid arthritis

    Polyarteritis nodosa

    Inflammatory Bowel disease

    ภาวะอื่นๆ เช่น

    pulmonary emboli

    drug fever ไข้จากยา

    Factitious fever

    Adrenal insufficiency

    Thyrotoxicosis

    Pancreatitis