AFI fever ไข้

AFI ไข้ fever พยาธิสภาพ

AFI ไข้ fever พยาธิสภาพ ของการเกิดไข้

ไข้ fever คือการที่อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่าปกติ ปกติ ร่างกายจะมีการควบคุมอุณหภูมิ โดยศูนย์กลางที่ สมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็น Thermoregulatory center at anterior hypothalamus (ศุนย์คุมอุณหภูมิที่สมองไฮโปทาลามัสส่วนหน้า) อุณหภูมิของร่างกายคือความสมดุลระหว่าง การสร้างความร้อน (จากการเผาผลาญ การออกกำลัง จากตับ ) และการระบายความร้อนของร่างกายทางผิวหนัง เหงื่อ

คนปกติ จะควบคุมอุณหภูมิในระหว่าง 37 องศาเซลเซียส อาจมีสูงบ้างในช่วงเย็น และต่ำมากในช่วงดึก เรียกว่า Circadian temperature ประมาณ 0.6 องศา

ไข้ส่วนใหญ่เกิดจากการสร้าง Endogenous Pyrogens เป็น Polypeptides โปรตีนที่ถูกสร้างเม็ดเลือดขาว เพื่อตอบสนอง ต่อการมีติดเชื้อ สารแปลกปลอม การอักเสบ หรือมะเร็ง หรือการแพ้บางชนิด Pyrogens นี้แหละจะผ่านไปยังไฮโปทาลามัส และทำให้เกิดการสร้าง Interleukin , prostagandins และ pyrogenic cytokines บางตัว ที่ทำให้ จุดสมดุลของความร้อนสูงขึ้น

บางครั้ง Pyrogen ก็อาจเกิดจากสิ่งภายนอก (exogenous pyrogens) เช่น เอนโดท็อกซิน (endotoxin ) ที่แบคทีเรียสร้างขึ้นมา เช่นจากการทดลองใช้ Toxins จากเชื้อ Staph เป็นเอนโดท็อกซินที่ก่อให้เกิด Pyrogens ได้แม้ใช้ปริมาณน้อยมาก

fever

AFI ไข้เฉียบพลัน สาเหตุที่พบบ่อย

AFI ไข้เฉียบพลัน หรือ Acute Febrile Illness คือไข้ที่เกิดโดยยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ เป็นไข้ฉับพลันในระยะ 7 วัน สาเหตุที่พบบ่อย

สาเหตุของไข้เฉียบพลัน ที่พบบ่อย คือการติดเชื้อต่างๆ แต่อย่าลืม ในบางโรคที่ไม่มีการติดเชื้อ เช่น การอักเสบ หรือโรคภูมิคุ้มกันต่างๆ หรือมะเร็งก็สามารถก่อให้เกิดไข้ได้

การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา วัณโรคหรือเชื้อริกเก็ตเซีย (Bacteria , virus , parasite, fungus mycobacteriam or rickettsia infection )

เช่น การติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ ปอด ผิวหนัง เยื่อหุ้มปอด พบได้ถึง 69% รองลงมาคือไข้รากสาดหรือ scub typhus

วัณโรคและหนองในช่องท้อง

การติดเชื้อมาเลเรีย , RSV,

ไวรัสอื่นๆ เช่น ไข้เลือดออก เดงกี่ ชิคุนกุนย่า

มะเร็ง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ (HCC) มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อน

โรคภูมิต้านตนเองต่างๆ เช่น

SLE (Systemic Lupus Erythematosus) โรคที่เราเรียกว่า โรคพุ่มพวง

Rheumatic fever

Giant Cell Arteritis , Polymyalgia rheumatica

Wegener’s granulomatosis

Rheumatoid arthritis

Polyarteritis nodosa

Inflammatory Bowel disease

ภาวะอื่นๆ เช่น

pulmonary emboli

drug fever ไข้จากยา

Factitious fever

Adrenal insufficiency

Thyrotoxicosis

Pancreatitis