fever

AFI ไข้เฉียบพลัน สาเหตุที่พบบ่อย

AFI ไข้เฉียบพลัน หรือ Acute Febrile Illness คือไข้ที่เกิดโดยยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ เป็นไข้ฉับพลันในระยะ 7 วัน สาเหตุที่พบบ่อย

สาเหตุของไข้เฉียบพลัน ที่พบบ่อย คือการติดเชื้อต่างๆ แต่อย่าลืม ในบางโรคที่ไม่มีการติดเชื้อ เช่น การอักเสบ หรือโรคภูมิคุ้มกันต่างๆ หรือมะเร็งก็สามารถก่อให้เกิดไข้ได้

การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา วัณโรคหรือเชื้อริกเก็ตเซีย (Bacteria , virus , parasite, fungus mycobacteriam or rickettsia infection )

เช่น การติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ ปอด ผิวหนัง เยื่อหุ้มปอด พบได้ถึง 69% รองลงมาคือไข้รากสาดหรือ scub typhus

วัณโรคและหนองในช่องท้อง

การติดเชื้อมาเลเรีย , RSV,

ไวรัสอื่นๆ เช่น ไข้เลือดออก เดงกี่ ชิคุนกุนย่า

มะเร็ง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ (HCC) มะเร็งไต มะเร็งตับอ่อน

โรคภูมิต้านตนเองต่างๆ เช่น

SLE (Systemic Lupus Erythematosus) โรคที่เราเรียกว่า โรคพุ่มพวง

Rheumatic fever

Giant Cell Arteritis , Polymyalgia rheumatica

Wegener’s granulomatosis

Rheumatoid arthritis

Polyarteritis nodosa

Inflammatory Bowel disease

ภาวะอื่นๆ เช่น

pulmonary emboli

drug fever ไข้จากยา

Factitious fever

Adrenal insufficiency

Thyrotoxicosis

Pancreatitis

fever

สาเหตุของไข้แบบฉับพลัน

สาเหตุของไข้แบบฉับพลันที่พบบ่อยในประเทศไทย

ไข้เป็นอาการสำคัญติด 1 ใน 20 ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในประเทศไทย โดยเฉพาะประเทศในแถบเขตร้อน จากการวิจัย ผู้ป่วยที่มีไข้แบบฉุกเฉิน จะพบว่า หาสาเหตุได้ร้อยละ 38.76 โดยเกิดจาก ไข้รากสาดใหญ่ (Scrub Typhus) ร้อยละ 7.5 ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ร้อยละ 6 ไข้เลือดออก ร้อยละ 5.7 Murine typhus ร้อยละ 5.3 การติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis) ร้อยละ 3.2

เชื้อที่พบบ่อยคือ Escherichia coli , Streptococci , Salmonella spp., Enterobactor spp. และ Staphyloccoccus aureus) Enteric fever ร้อยละ 1.9 และไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) ร้อยละ 1.1